ฟองสบู่

ในบทความนี้จะมาพูดถีงการเป่าฟองสบู่ที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ ไม่ว่าจะเล่นตอนอาบน้ำ หรือเล่นเป็นกิจกรรมกับพ่อแม่หรือเพื่อนๆ สำหรับเด็กเล่นที่ยังเป่าไม่เป็นสามารถฝึกเป่าได้หรือให้พ่อแม่เป่าให้ เมื่อฟองสบู่ลอยออกมาเด็กๆ ก็จะยิ้มหัวเราะและวิ่งไล่จับกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งการเล่นฟองสบู่ยังมีประโยชน์ต่อเด็กๆ มากมาย นักกิจกรรมยังนำกิจกรรมนี้ไปใช้บำบัดได้อีกด้วย และฟองสบู่ยังสามารถทำเองได้หลายแบบในบทความนี้ได้แนะนำวิธีการผสมน้ำยาเป่าฟองสบู่ไว้ใช้เป็นสูตรง่ายๆ ทำเองได้ เช่น ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำ ถ้าอยากได้ฟองสบู่แบบไม่ยอมแตกง่ายๆ ก็ให้ผสมน้ำตาลหรือกลีเซอรีนเพิ่ม หรืออยากให้เด็กๆ ตื่นเต้นก็ยังสามารถใส่สีหรือกลิ่นหอมๆ ได้อีกด้วย

ฟองสบู่

ความสุขของเด็กเรียบง่ายเหมือนฟองสบู่

เด็กเล็กๆ ช่วงวัย 0-3 ปีมีหลายคนชอบฟองสบู่มาก ทำให้นักบำบัดเด็กหลายท่านทั้ง นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นัก อรรถบำบัด นักกายภาพบำบัด และอื่นๆ ก็ใช้ฟองสบู่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดด้วย เพราะไม่เพียงแค่ฟองสบู่จะเป็นของเล่นที่เรียบง่ายราคาไม่แพงแล้ว ยังมีส่วนช่วยพัฒนาเด็กเล็กเป็นอย่างมาก เหมือนการใช้เวทมนต์ ทันทีที่ฟองสบู่ใสๆ ค่อยๆ ผุดออกมาจากปลายหลอดและขยายใหญ่ขึ้นๆ สำหรับเด็กๆ แล้วเหมือนได้เห็นมนต์วิเศษที่เกิดขึ้นจริงตรงหน้าพวกเขา

เมื่อฟองสบู่หลายสิบลูกลอยไปมา ทำให้พวกเขาที่อยู่ท่ามกลางฟองสบู่เหล่านั้นเหมือนอยู่ในดินแดนเวทมนต์ ยิ่งมือของพวกเขาไปสัมผัสแล้วฟองสบู่แตกออก เด็กๆ ยิ่งรู้สึกสนุกเพราะฟองสบู่คงเป็นเพียงไม่กี่สิ่งที่ผู้ใหญ่จะอนุญาตให้เขาทำลายมันทิ้งได้ เด็กๆ หลายคนจึงชอบมากๆ และแม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเราหลายคนถึงแม้จะ โตแล้วก็ยังชอบฟองสบู่อยู่ ความสุขที่เด็กๆ ได้รับเวลาที่ผู้ใหญ่เป่าฟองสบู่ให้พวกเขานั้นท้วมท้น เป็นความสุขเรียบง่ายคล้ายกับฟองสบู่

ประโยชน์จากการเล่นเป่าฟองสบู่

  • ส่งเสริมทักษะการใช้สายตา เมื่อฟองสบู่ถูกเป่าออกมาสายตาของเด็กๆ มักจะจดจ้องไปที่ฟองสบู่เหล่านั้น และมองจนสบู่ปลิวหายไปตาม สายลม ในกรณีที่เด็กเริ่มวิ่งเล่นได้เอง พวกเขาจะมองไปที่ฟองสบู่ต่างๆ เพื่อไปไล่จับและตีฟองสบู่เหล่านั้นให้แตก
  • ส่งเสริมทักษะทางภาษา เวลาที่ผู้ใหญ่จะเป่าฟองสบู่ให้เด็กๆ เราสามารถกระตุ้นให้เด็กๆ ออกเสียงตามได้เช่น “ฟู่” นอกจากนี้เวลาที่เด็กๆ วิ่งไล่จับพวกเขามักจะส่งเสียงกรี๊ดกร๊าด หรือหัวเราะออกมาอย่างเบิกบานใจอีกด้วย ในกรณีที่เด็กๆ โตพอจะเรียนรู้การเป่าฟองสบู่ได้ด้วยตัวเอง กล้ามเนื้อรอบปากก็ได้ขยับและออกแรง ทำให้เด็กๆ ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณปากได้ดีขึ้น ส่งผลต่อการควบคุมการไหลของน้ำลาย และการออกเสียง
  • พัฒนาการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก-ใหญ่การเคลื่อนไหว และการทำงานประสานกันของร่างกาย เมื่อผู้ใหญ่เป่าฟองสบู่ออกไปตาของเด็กๆ มองหาฟองสบู่ร่างกายของพวกเขาขยับตามไป ขาและเท้าที่วิ่งไล่ตาม มือและแขนที่ไล่คว้าฟองสบู่มาครอบครอง นิ้วจิ้มให้แตกลง เด็กๆ วิ่งอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยไปตามฟองสบู่ที่ลอยไปมา
  • ช่วยให้เด็กๆ ได้ปล่อยพลังอย่างสนุกสนาน เมื่อเราไม่รู้ว่าจะชวนเด็กๆ เล่น หรือ ทำให้เด็กๆ ตื่นตัวและระบายแรงอย่างสร้างสรรค์อย่างไรดี แค่เพียงเราชวนเด็กๆ ไปบริเวณที่โล่งกว้าง และเป่าฟองสบู่ให้พวกเขาได้วิ่งไล่จับ เพียงเท่านี้เด็กๆ ก็ยิ้มและหัวเราอย่างสนุกสนานแล้ว
  • เข้าใจเหตุและผลอย่างง่ายตามธรรมชาติ ฟองสบู่ถือเป็น Cause and Effect Play กล่าวคือเมื่อทำสิ่งใด แล้วเกิดสิ่งใดตามมา การเล่นแบบนี้คล้ายเป็นการทดลองสำหรับเด็กๆ เมื่อออกแรงเป่าฟองสบู่จึงออกมา เมื่อเอานิ้วจิ้มไปที่ฟองสบู่จึงแตกลง
  • ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสมาธิ จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นการเป่าหรือจับฟองสบู่ ต้องอาศัยความตั้งใจ จดจ่ออยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้นๆ
  • ช่วยส่งเสริมความพยายามทำงานให้สำเร็จ ในเด็กเล็กๆ มักจะยังเป่าฟองสบู่ไม่ค่อยเป็น แต่เขาอยากจะเป่าเป็นบ้าง เขาจึงพยายามตั้งใจจะทำให้ได้ และเมื่อเขาทำได้สำเร็จ (ลองสังเกตสีหน้าของเด็ก) เด็กจะแสดงสีหน้าทั้งดีใจ มีความสุข และภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้เราอดยิ้มตามไปด้วยไม่ได้เลย
  • ฝึกการอดทนรอคอย (อดทนรอให้มีคนเป่าฟองสบู่ให้) หรือในกรณีที่เล่นกันหลายคน ก็ได้ฝึกการแบ่งปัน ผลัดกันเป่าผลัดกันเล่น เป็นการส่งเสริมทักษะสังคมได้อีกทางหนึ่ง
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง (กลม), ขนาด (เล็ก/กลาง/ใหญ่), วัตถุโปร่งแสง, ทิศทาง (บน-ล่าง, ซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง) ซึ่งเด็กๆ จะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้ดีจากการเล่น มากกว่าการสอนเพียงอย่างเดียว
  • ทำให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดี เป็นการใช้เวลาคุณภาพด้วยกัน ซึ่งบรรยากาศการเล่นที่อบอุ่น สนุกสนานร่าเริงนี้จะช่วยพัฒนาสัมพันธภาพกับเด็กได้เป็นอย่างดี

แม้ว่าในเด็กที่โตขึ้นมา (6-10 ปี) จะไม่ค่อยสนใจเล่นฟองสบู่เท่ากับเด็กเล็กแล้ว แต่ค้นพบว่าเมื่อใดก็ตามที่เด็กโตรู้สึกหดหู่ เศร้าสร้อย การได้เล่นเป่าฟองสบู่ด้วยกัน จนในที่สุดมีฟองสบู่เต็มไปหมดนั้น ช่วยทำให้เด็กรู้สึกเบิกบานใจขึ้นได้จริงๆ นอกจากนี้ ยังใช้ในการเล่นสมมติของเด็กโตได้อีกด้วย เช่น สมมติว่า ฟองสบู่เป็นฝนตก เป็นหิมะ เป็นฟองอากาศในน้ำ ก็ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

วิธีการทำฟองสบู่ธรรมดา

ส่วนประกอบ

  • น้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.)
  • น้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม)
  • น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)

วิธีการทำ

– เทน้ำอุ่น 4 ถ้วยตวง (950 มล.) ใส่ขวดโหลขนาดใหญ่ จะใช้ภาชนะอื่นก็ได้ เช่น เหยือก หรือชามใบใหญ่ ขอแค่ใหญ่พอจะจุน้ำมากกว่า 4 ถ้วยตวง (950 มล.) นิดหน่อย จะได้เว้นที่เผื่อไว้สำหรับใส่ส่วนผสมอื่นๆ

  • จะใส่น้ำน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วปรับปริมาณของส่วนผสมอื่นๆ ให้สัมพันธ์กัน
  • อุณหภูมิของน้ำก็ไม่จำเป็นต้องเป๊ะๆ จะใช้น้ำร้อนจากก๊อกก็ได้ แต่ถ้าเป็นน้ำกลั่นได้จะดีที่สุด

– ผสมน้ำตาลทรายป่น 1/2 ถ้วยตวง (120 กรัม) แล้วคนให้เข้ากัน. จะใช้เวลานานแค่ไหน ก็แล้วแต่ว่าใช้น้ำอุ่นหรือร้อนแค่ไหน แต่ไม่ควรนานเกิน 2 – 3 นาที

  • ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้ปิดฝาแน่นๆ แล้วเขย่าให้เข้ากันซะเลย
  • อาจจะฟังดูแปลกๆ ที่ให้ผสมน้ำตาลในน้ำยาเป่าฟองสบู่ แต่บอกเลยว่าน้ำตาลจะช่วยยึดส่วนผสมต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ฟองสบู่ที่เป่าไปไม่แตกง่ายเหมือนเดิม!
  • ถ้าบังเอิญไม่มีน้ำตาลติดบ้าน จะไม่ใส่ก็ได้ แต่ก็แน่นอนว่าฟองสบู่จะแตกง่ายหน่อย

– คนผสมน้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) เข้าไป. ระวังอย่าใส่เยอะเกินไป! ให้ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำ แต่อย่าตีให้แตกฟอง

  • ถ้าใช้ขวดโหล ก็ให้คนผสมโดยใช้ช้อนด้ามยาว ห้ามปิดฝาแล้วเขย่า
  • หลายคนใช้น้ำยาล้างจานยี่ห้อ Dawn สีฟ้า แล้วเห็นผลที่สุด แต่จริงๆ จะใช้ยี่ห้อไหนก็ตามสะดวก

– ทิ้งไว้ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วค่อยเอามาเป่าเล่น. ถ้าทิ้งไว้ข้ามคืนได้ยิ่งดี เพราะพอเราทิ้งน้ำยาไว้แล้วทำให้เกิดฟองสบู่เยอะกว่าเดิม

  • เก็บน้ำยาเป่าฟองสบู่นี้ไว้ในที่มืดๆ เย็นๆ ถ้าแช่ตู้เย็นไว้จะยิ่งอยู่ได้นานเข้าไปอีก
  • แต่แนะนำให้รีบเอามาเป่าเล่นให้เร็วที่สุด เพราะพอผสมน้ำตาลเข้าไปแล้ว อายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์

วิธีการทำฟองสบู่แตกยาก

ส่วนประกอบ

  • น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง (1.5 ลิตร)
  • แป้งข้าวโพด (cornstarch) 1/2 ถ้วยตวง (70 กรัม)
  • น้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)
  • ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ (13 กรัม)กลีเซอรีนหรือน้ำเชื่อมข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.)

วิธีการทำ

– ละลายแป้งข้าวโพดผสมไปในน้ำ เทแป้งข้าวโพด 1/2 ถ้วยตวง (70 กรัม) ใส่ชามใบใหญ่ เติมน้ำลงไป 6 ถ้วยตวง (1.5 ลิตร) จากนั้นคนผสมให้เข้ากัน ให้คนไปเรื่อยๆ จนแป้งข้าวโพดละลายหมด

  • ถ้าหา cornstarch ไม่ได้ ให้ใช้ cornflour แทน
  • สูตรนี้ผสมแล้วจะได้ฟองสบู่ที่แตกยากกว่าปกติ ใช้เป่าฟองสบู่ยักษ์ได้เลย!

– เติมน้ำยาล้างจาน ผงฟู และกลีเซอรีน เทน้ำยาล้างจาน 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) ลงไปในชาม จากนั้นเติมผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ (13 กรัม) กับกลีเซอรีน 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.)

  • ย้ำว่าต้องใช้ผงฟู คือ baking powder ไม่ใช่เบคกิ้งโซดาเพราะคนละอย่างกัน
  • ถ้าหากลีเซอรีนไม่ได้ ให้ใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดแทน ถึงไม่ใช่แต่ก็ใกล้เคียง

– คนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน แต่ระวังอย่าให้แตกฟอง คนด้วยช้อนด้ามยาวจะดีที่สุด เพราะโอกาสเกิดฟองมีน้อย ให้คนไปเรื่อยๆ จนน้ำยาล้างจาน ผงฟู และกลีเซอรีนละลายเข้ากัน

– ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง แล้วค่อยเอามาเป่าเล่น บางทีแป้งข้าวโพดก็ไม่ยอมละลายจนหมด โดยตกตะกอนอยู่ที่ก้นชาม แบบนี้ให้คนส่วนผสมเร็วๆ

  • ถ้าสุดท้ายแป้งข้าวโพดไม่ยอมละลายจนหมดก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ได้ส่งผลต่อการเกิดฟองสบู่
  • ให้เก็บน้ำยาเป่าฟองสบู่ไว้ในที่มืดๆ เย็นๆ และเอามาเป่าเล่นให้หมดภายใน 2 – 3 อาทิตย์ ถ้าน้ำยาเริ่มขุ่น ก็ทิ้งไปได้เลย

ฟองสบู่

วิธีการทำฟองสบู่มีสี

ส่วนประกอบ

  • น้ำอุ่น 1 1/4 ถ้วยตวง (300 มล.)
  • น้ำตาลทรายป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
  • น้ำยาล้างจาน 1/3 ถ้วยตวง (80 มล.)
  • สีผสมอาหาร
วิธีการทำ

– ละลายน้ำตาลในน้ำอุ่น เทน้ำอุ่น 1 1/4 ถ้วยตวง (300 มล.) ใส่เหยือก เติมน้ำตาลทรายป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) ลงไป แล้วคนผสมให้เข้ากัน ให้คนไปเรื่อยๆ จนน้ำตาลละลายหมด

  • ที่ให้ใช้เหยือกเพราะจะต้องแบ่งส่วนผสมออกเป็นชุดย่อยๆ ถ้ารินจากเหยือกจะสะดวกดี

– คนผสมน้ำยาล้างจานลงไป แต่ระวังอย่าให้แตกฟอง เทน้ำยาล้างจาน 1/3 ถ้วยตวง (80 มล.) ลงไปในเหยือก คนผสมให้เข้ากันจนน้ำยาล้างจานละลายหมด ย้ำว่าต้องคนช้าๆ จะได้ไม่แตกฟองเยอะเกินไป

  • หลายคนใช้น้ำยาล้างจานยี่ห้อ Dawn สีฟ้า (สูตรดั้งเดิม) แล้วเห็นผลที่สุด แต่จะทำให้สีฟ้าไปปนกับสีอื่นที่คุณจะผสมในน้ำยา
  • แนะนำให้ใช้น้ำยาล้างจานสีใสจะดีที่สุด เพราะผสมสีเองง่ายกว่า โดยเฉพาะใครอยากได้น้ำยาสีเหลือง ส้ม และแดง

– แบ่งน้ำยาออกเป็น 4 ถ้วยตวงหรือขวดโหล เพื่อทำน้ำยา 4 สีแตกต่างกันไป ถ้าอยากผสมน้อยสีกว่านั้น ก็ให้ใช้แค่ขวดเดียว ตามสีที่ต้องการ อย่างถ้าอยากได้น้ำยา 1 สี ก็ให้เทใส่ขวดโหลขนาดใหญ่แทน

– ใส่สีผสมอาหาร 5 – 10 หยดในแต่ละขวด เฉพาะคนที่แบ่งน้ำยาออกเป็น 4 ขวดเท่านั้น ถ้าใช้ขวดโหลน้อยกว่านั้น ก็ต้องใส่สีผสมอาหารเพิ่ม

  • หรือใช้สีน้ำแทน ถึงจะคนละแบบ แต่ก็ออกมาสีสวยพอๆ กัน
  • ถ้าอยากได้ฟองสบู่แบบเรืองแสงในความมืด ให้บีบสีเรืองแสงหรือสีฟลูออเรสเซนต์ลงไป 1 ครั้ง โดยจะเห็นสีชัดเจนก็ต่อเมื่ออยู่ในห้องที่เปิดไฟ
  • สีผสมอาหารจะไปปนกับสีน้ำยาล้างจานที่ใช้ เช่น ถ้าใช้น้ำยาล้างจานสีฟ้า แล้วหยดสีผสมอาหารสีแดงลงไป น้ำยาฟองสบู่ของคุณก็จะออกมาเป็นสีม่วงนั่นเอง
ต้องไปเป่าฟองสบู่เล่นนอกบ้าน ระวังสีเปื้อนด้วย ระวังอย่าเป่าฟองสบู่แถวอะไรที่เลอะแล้วล้างออกยาก เช่น รถ หรือเฟอร์นิเจอร์ตามระเบียง เวลาเล่นฟองสบู่ คุณเองก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เลอะได้ซักง่ายเช่นกัน
  • ทิ้งน้ำยาไว้ 1 ชั่วโมงค่อยเอาไปเป่าเล่น ฟองสบู่ที่ได้จะอยู่นาน แตกยากขึ้น
  • ให้เก็บน้ำยาฟองสบู่ในที่มืดๆ เย็นๆ เช่น ตู้เย็น แล้วเอามาเป่าเล่นให้หมดใน 1 – 2 อาทิตย์

วิธีการทำฟองสบู่มีกลิ่น

ส่วนประกอบ

  • น้ำอุณหภูมิห้อง 1 ถ้วยตวง (240 มล.)
  • สบู่เหลวไม่แต่งกลิ่นหรือสบู่เด็ก 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.)
  • น้ำมันหอมระเหยหรือสารสกัด
  • กลีเซอรีนหรือน้ำเชื่อมข้าวโพด 2 – 4 ช้อนโต๊ะ (30 – 60 มล.) (ไม่จำเป็น)

วิธีการทำ

– คนผสมสบู่เหลวในน้ำ เทน้ำอุณหภูมิห้อง 1 ถ้วยตวง (240 มล.) ลงในชาม แล้วเติมสบู่เหลวของเด็กหรือแบบไม่แต่งกลิ่น 1/2 ถ้วยตวง (120 มล.) ค่อยๆ ผสม 2 อย่างเข้าด้วยกันจนสบู่ละลายหมด

  • คนเบาๆ อย่าให้แตกฟองมากเกินไป
  • ถ้าใช้สบู่ Castile หรือสบู่จากน้ำมันมะกอกได้จะดีที่สุด เพราะไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ หรือจะใช้สบู่อื่นๆ ที่ไม่แต่งกลิ่นและไม่ใช้สารเคมีแรงๆ ก็ได้
  • ห้ามใช้สบู่ตั้งต้นที่กลิ่นฉุนอยู่แล้ว เช่น สบู่ลาเวนเดอร์ เพราะจะไปกลบกลิ่นที่คุณเพิ่มเติมเข้าไปเองทีหลัง

– ใส่กลิ่นที่ใช้เวลาทำขนม เช่น กลิ่นวานิลลา แล้วคนผสม แค่นิดเดียวก็หอมฟุ้งแล้ว เพราะงั้นให้ใส่แค่ 1/8 – 1/4 ช้อนชา กลิ่นอื่นๆ ที่น่าสนใจก็เช่น เลมอน และอัลมอนด์ กระทั่งเปปเปอร์มินต์ แต่ถ้าใช้ต้องหยดแค่ 2 – 3 หยดพอ เพราะกลิ่นฉุน

  • หรือจะใช้น้ำมันหอมระเหย 2 – 3 หยด ไม่ก็น้ำมันหอมสำหรับแต่งกลิ่นสบู่โดยเฉพาะก็ได้ เริ่มจากแค่ 2 – 3 หยดก่อน แล้วหยดเพิ่มตามต้องการ
  • อาจจะใช้น้ำมันแต่งรสลูกกวาดสัก 2 – 3 หยดก็ได้ กลิ่นจะค่อนข้างแรง เพราะงั้นอย่าใส่เยอะ
  • ถ้าอยากได้น้ำยาสีๆ ให้ใช้สีผสมอาหารหรือสีน้ำ 2 – 3 หยด

– ผสมน้ำเชื่อมข้าวโพดหรือกลีเซอรีนลงไปด้วย ถ้าอยากได้ฟองสบู่แบบไม่แตกง่าย เป็นขั้นตอนที่ไม่บังคับ แต่ถ้าใส่ฟองสบู่จะลอยอยู่นาน ไม่แตกง่าย ใส่แค่ประมาณ 2 – 4 ช้อนโต๊ะ (30 – 60 มล.) ก็พอ

  • เลือกแค่ 1 อย่างเท่านั้น ห้ามผสมทีเดียวทั้ง 2 อย่าง
  • ย้ำว่าต้องค่อยๆ ผสม! ไม่งั้นจะฟองฟ่อดอย่าบอกใคร

– เป่าเล่นให้สนุก แต่พอน้ำยาเริ่มขุ่น ต้องทิ้งไป น้ำยาสูตรนี้จะต่างจากสูตรอื่นตรงที่อยู่ได้ไม่นาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่คุณเลือกด้วย เช่น ถ้าผสมกลิ่นสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหาร ก็จะอยู่ได้ไม่นานเท่าน้ำมันหอมระเหย

  • ถ้าใช้แค่น้ำ สบู่ แล้วก็น้ำมันหอมระเหย น้ำยาฟองสบู่ของคุณจะแทบไม่มีวันหมดอายุเลย
  • ถ้าใช้น้ำ สบู่ กลิ่นทำขนม กับน้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำยาก็จะอยู่ได้แค่ 1 – 2 อาทิตย์ ถ้าเก็บในที่มืดๆ เย็นๆ

บทสรุป

ฟองสบู่ไม่เพียงแค่ให้ความสนุกสนานๆ แต่ยังช่วยพัฒนาของเด็กๆ ทั้งด้านร่างกายและช่วยเติมเต็มหัวใจดวงน้อยๆ ของพวกเขาอีกด้วย ความสุขที่เด็กๆ ได้รับเวลาที่ผู้ใหญ่เป่าฟองสบู่ให้พวกเขานั้นท้วมท้น ความสุขที่เด็กๆ ต้องการไม่ได้ซับซ้อนพวกเขาแค่ต้องการเล่นอย่างสนุกสนานเพื่อมีความสุข เดี๋ยวนี้หากมีโอกาสชวนเด็กๆ เล่นเป่าฟองสบู่กัน หรือวันใดที่อยากสนุกง่ายๆ ผู้ใหญ่อย่างเราก็ลองเล่นเป่าฟองสบู่บ้าง เผื่อฟองสบู่เล็กๆ จะพาเรายิ้มได้ หรือในวันหยุดใช้เวลาว่างชวนลูกทำฟองสบู่เป่าเองได้ง่ายๆ เด็กจะได้เรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มอีกด้วย

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ ilovegkr.com
สนับสนุนโดย  ufabet369